วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

แสงในภาพยนตร์

แสงในภาพยนตร์
1.1 ความสำคัญและประโยชน์- สร้างความเข้าใจในภาพ- สร้างบรรยากาศของเรื่องราว- ทำให้รับรู้เกี่ยวกับมิติและความมืด- ให้เกิดความสวยงาม1.2 ลักษณะของแสงเพื่อการถ่ายทำภาพยนตร์- แหล่งแสง มาจาก แสงธรรมชาติ แสงจากไฟประดิษฐ์- ลักษณะของแสง แสงกระด้าง: สร้างความรู้สึกที่รุนแรง แสงนวลฟุ้ง: สร้างอารมณ์ชวนฝัน1.3 อิทธิพลของแสงต่ออารมณ์- ลักษณะของแสง- ทิศทางของแสง- สีของแสง- การส่งผ่านของแสง1.4 การวัดแสง- วัดแสงสะท้อน- วัดแสงตกกระทบ-แสงหลัก: Main light | key ligh-แสงเสริม: Fill light-แสงส่องหลัง: Back light-ส่องผม: hair light-ส่องไหล่: kick light-แสงส่องฉาก (BACKGROUND LIGHT)
จิตวิทยาแห่งสี ในภาพยนตร์
สี ที่เกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติสี ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ส้ม-แดง ร้อน ท้าทาย ตื่นเต้น ชีวิตเหลือง-เขียว ร่าเริง ธรรมชาติ ผ่อนคลายน้ำเงิน-เทา สงบ สุขุมน้ำตาล-เทา เศร้า รันทด สิ้นหวังส้ม-เขียว จริงจัง อำนาจ พลัง กำลังใจฟ้า-ขาว ปลอดโปร่ง สดใส อ่อนโยนปัจจัยในการเลือกสี (มิติ ของ สี ในภาพยนตร์)(1) เวลา ซึ่งแสดงถึงบรรยากาศ ที่ปรากฏลงบนภาพ เช่น เช้า กลางวัน ค่ำ กลางคืน(2) อารมณ์ ซึ่งแสดงถึง พลังที่ซ่อนอยู่ภายในใจ เช่น ความรัก ความพยาบาท ความท้อแท้(3) สถานที่ เช่น ภายนอก ภายใน นรก สวรรค์ ที่กลางแจ้ง หรือที่แคบ ย่อมให้สีที่แตกต่างกัน(4) วัฒนธรรม มนุษย์ที่มีวัฒนธรรม ความเชื่อ และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ย่อมตีความหมายของสี ที่แตกต่างกันไปด้วย
 แสงในภาพยนตร์ /วิดีทัศน์
การเตรียมสถานที่ในการจัดแสง- ศึกษาบท- เลือกสถานที่การจัดแสง- ความสมดุลของแสงบนวัตถุที่เคลื่อนที่ และวัตถุที่อยู่นิ่ง- ความต่อเนื่องของแสง






สัญลักษณ์ในภาพยนตร์

สัญลักษณ์ในภาพยนตร์อาจจะมีให้เห้นฉากต่างๆในหลายรูปแบบเช่นโปสเตอร์ที่มีความหมายในนั้นหรือจะเป็นสัญลักษณ์อะไรสักอย่างที่ผู้กำกับต้องการให้เราเห็นเเละตีความหมายที่เค้าต้องการจะสื่อ

การทำBreakdownก่อนถ่ายภาพยนตร์

Breakdown และ shooting list อย่างง่ายครับ
เวลาเราสจะออกกองถ่ายหนังกันไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่เราจะต้องมีการเตรียมงานครับ ที่สำคัญมากๆเลยคืองานเอกสาร ในกองถ่ายใหญ่ๆเขามีเอกสารมากมายไม่ว่าจะเป็น breakdown call sheet list ต่างๆอีกมากมายครับ แต่สำหรับหนังเล็กๆของเราอาจจะไม่ต้องถึงขั้นนั้น วันนี้ก็เลยเอาตัวอย่าง breakdown และ shooting list แบบกองเล็กๆมากมาให้ดูกันครับ (พอดีจะไปถ่ายหนังสั้นให้น้องชายที่กำลังจะแต่งงานครับ )
ความดีความงานของเจ้าใบนี้เลยก็คือ มันทำให้เรารู้ว่าวันที่เราจะถ่ายเราจะต้องถ่ายอะไรบ้าง รายละเอียดเป็นอย่างไร อันไหนถ่ายก่อนถ่ายหลัง จริงๆถ้าซีเรียสอีกหน่อยน่าจะระบุเวลา แต่สำหรับกองผมนั้นวันนั้นไม่อยากกดดันตัวเองครับ เลยไม่ระบุลงไป แต่ให้เห็นคร่าวๆว่าวันนั้นเราต้องทำอะไรกันบ้าง
แล้วก็เอาไว้สื่อสารกับทีมงานเพื่อให้เขาเตรียมของที่จะถ่ายได้ล่วงหน้าทำให้การถ่ายทำเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่สะดุดครับ
ลองมาดูดีเทลกันนะครับ List นี้จะทำงานบนพื้นฐานของฉากครับ เราจะเป็นว่าวันนั้นเราจะถ่ายฉากอะไรบ้าง (ซึ่งมีอีกสิ่งที่ผมไม่ได้ระบุไปคือ ความยาวฉาก เพราะยังไงก็ถ่ายวันเดียว แต่จริงๆสำหรับหนังที่ออกกองเกิน 1 วัน ควรระบุความยาวฉากลงไปด้วยนะครับ จะได้รู้ว่าที่เรากำลังจะทำไอ้หนึ่งบรรทัดเนี่ย มันยาวกี่หน้าบทกัน)
No. ช่องแรกคือลำดับการถ่ายของเราครับ
Sc. นี่คือฉากที่เราจะถ่ายครับ ว่าเป็นฉากใดในบท
Int./Ext. คือเป็นการระบุว่าฉากนั้นเป็นภายในหรือภายนอกครับ
D/N เป็นการระบุว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืนครับ
Set คือตัวฉากเราว่าเซ็ทเป็นอะไรตามบทครับ
Description คือ log line ของฉากนั้นๆว่ามันเกี่ยวกับอะไร ให้ทีมงานพอรู้คร่าวๆครับ
cast คือตัวละครหลักที่จะปรากฏตัวในฉากนั้นๆ
prop คืออุปกรณ์ประกอบที่จะปรากฏขึ้นในฉากนั้นๆ
Extra คือตัวประกอบที่จะมาเข้าฉากเพิ่มเติม (อันนี้จริงๆมีรายละเอียดอีกเยอะ เดี๋ยวค่อยมาว่ากันแบบเต็มๆครับ
costume ชุดที่ใช้คือชุดอะไร ถ้าหนังยาวๆเราจะระบุเป็นตัดวัน Day 1 Day 2 ในเรื่องครับ เพราะชุดจำเป็นต้องมีการ continue กันตลอดทั้งเรื่องครับ
Pg. คือหน้าของบทครับ ว่าฉากนี้อยู่หน้าไหนของบท จะได้พลิกหาได้ง่ายครับ
remark ก็คือหมายเหตุเผื่อมีอะไรพิเศษครับ
จากตัวอย่างนี้ จะทำให้เห็นว่าชีวิตของผมในวันนั้นจะเป็นอย่างไร
เริ่มจากไปถึงกอง แปดโมงครึ่ง เก้าโมงเริ่มแต่งหน้า เริ่มถ่าย 10 โมง
แล้วถ่ายจากภายนอกก่อน แล้วค่อยไปเป็นข้างใน จากที่ที่ต้องการกว้างก่อน แล้วเป็นที่ที่แคบลง ในแต่ละที่ก็จะถูกจัดระเบียบโดยการเรียงตามอะไรซักอย่าง บางครั้งก็ตามตัวละคร บางครั้งก็เรียงไปตาม mood ของเรื่อง
แล้วก็ พอไม่ได้ระบุเวลา ก็เลยไม่กดดันตัวเองโดยการระบุเวลาทานข้าว พัก เบรก หรืออะไรต่างๆ ให้รู้แค่ว่านี่คือลิสต์ที่ให้เรารู้ลำดับ อย่างน้อยที่สุดคือ เวลามีปัญหา เปลี่ยนแผน ซีนต่างๆก็ยังปรากฏให้เราเห็นบนกระดาษ เพราะถ้าไม่มีเจ้าแผ่นนี้ อาจจะมั่วมากแล้วก็ถ่ายตกไปก็ได้ครับ

มุมกล้องของภาพยนตร์

Shot ในความหมายของระยะการถ่ายทำภาพยนตร์อาจแบ่งจากลักษณะที่ใช้ในการถ่ายทำได้ดังนี้

1. ELS หรือ Extreme Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกลที่สุด เช่นเห็นเมืองทั้งเมือง ผืนป่าทั้งป่า หรือทะเลทรายกว้างสุดลูกหูลูกตา ซึ่งเป็นช็อตที่มักพบมากในหนังประเภท Epic หรือหนังมหากาพย์ที่เล่าเรื่องราวใหญ่โต จึงมีฉากที่แสดงความอลังการ อย่างไรก็ตามในหนังเพื่อศิลปะหลายเรื่องการถ่ายภาพในระยะนี้ก็ใช้เพื่อวัตถุ ประสงค์อื่นๆ เช่น ความไม่แน่นอน น่าสงสัย ความโดดเดี่ยว เปลี่ยวเหงา เช่นหนังของ มิเกลแองเจโล่ แอนโทนิโอนี่

2. LS หรือ Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกล พื้นที่ที่มากกว่าตัวละครทำให้เราใกล้ชิดกับฉากหรือทัศนียภาพมากกว่าความ รู้สึก ผลดังกล่าวทำให้ช็อตนี้มักใช้ในหนังเพื่อแสดงบรรยากาศเย็นชา หรือธรรมชาติที่ดูมีอิทธิพลเหนือผู้คน ในกรณีที่ใช้ถ่ายทำสถานที่เพื่อแนะนำเรื่องว่าเป็นฉากใด ซึ่งมักเป็นฉากเปิด งานทางด้านภาพยนตร์มักจะถ่ายฉากประเภทนี้เก็บไว้เพื่อความจำเป็นในการเล่า เรื่อง มักเรียกว่า Established Shot

3. MLS หรือ Medium Long Shot ช็อตที่อยู่ระหว่างระยะไกล และระยะ MS มักถ่ายเพื่อเปิดให้เห็นบุคคล กับวัตถุประสงค์ที่ต่างกันไป เช่น หมู่คณะหลายคน, ภาพคนกับพื้นที่ปิด หรือพื้นที่เปิด ซึ่งก็ให้ความหมายของภาพต่างกัน

4. MS หรือ Medium Shot เป็นช็อตที่ได้รับความนิยมที่สุด เพราะใช้ในการดำเนินเรื่อง และสนทนา ภาพออกมาอยู่ในระดับที่สบายตา โดยธรรมชาติของช็อตแบบนี้ไม่เน้นอารมณ์ร่วมกับผู้ชม แต่เน้นให้เพื่อใช้สำหรับเล่าเรื่อง ฉากการสนทนา บ้างก็เรียกว่า Two Shot คือเป็นช็อตที่ถ่ายให้เห็นคนสองคนทั้งตัว ไปจนระดับลำตัวถึงหัว

5. MCU หรือ Medium Close Up กึ่งกลางระหว่าง MS กับ Close Up เป็นอีกหนึ่งช็อตที่เรามักเห็นบ่อยๆ ในการถ่ายทำภาพยนตร์สำหรับผู้ชมวงกว้าง

6. CU หรือ Close Up ระยะใกล้ เป็นระยะที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกตัวละครเป็นหลัก ไม่ว่าจะโกรธ เศร้า ดีใจ และใบหน้าของมนุษย์ยังแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย ช็อตนี้ตัวอย่างที่มักได้รับการกล่าวถึงบ่อยคือ City Light ของ ชาร์ลี แชปลิน ตลอดทั้งเรื่องเราเห็นอารมณ์ขันของเขาในระยะไกล หรือระยะกลางภาพ แต่เมื่อช่วงท้ายต้องการเร้าอารมณ์ตัวละครหลักได้ถูกจับภาพใบหน้าเป็นครั้ง แรก มันจึงส่งผลให้เราคล้อยตามได้

7. ECU หรือ Extreme Close Up ระยะใกล้มาก เป็นระยะภาพที่เน้นความรู้สึกในระดับที่สูงขึ้นกว่า CU เช่น ถ่ายภาพดวงตาในระยะประชิด หรืออวัยวะบางอย่างเพื่อแสดงอากัปกิริยาที่มีนัยยะต่างไปจากการแสดงออกอย่าง อื่น เพราะการส่งผลทางภาพที่ให้อารมณ์สุดโต่ง เราจึงมักเห็นช็อตนี้ในหนังสยองขวัญ หนังทดลอง หรือหนังทางด้านศิลปะบ่อยกว่าหนังสำหรับผู้ชมทั่วไป


ภาพยนตร์คืออะไร

ภาพยนตร์คืออะไร



       ภาพยนตร์ คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ดูหนัง
      ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพยนตร์คืออะไร

หน้าที่และตำแหน่งในการถ่ายทำภาพยนตร์

หน้าที่และตำแหน่งในการถ่ายทำภาพยนตร์

- Producer (ผู้ควบคุมการสร้าง) : เหมือนกัน ก็เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้กำกับกับนายทุน คอยดูแลควบคุมการถ่ายทำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย คุยกับนายทุนให้เข้าใจสิ่งที่ทางกองถ่ายจำเป็นต้องใช้ ต้องมี แต่ก็ต้องคอยควบคุมดูแลไม่ให้ผู้กำกับออกนอกลู่นอกทาง หรือว่าใช้งบประมาณมากจนเกินไป บางครั้งโปรดิวเซอร์ก็ต้องลงไปดูแลถึงในกองถ่ายด้วย เรียกว่าควบคุมผู้กำกับอีกที แต่ต้องให้อิสระผู้กำกับในแง่ของความคิดสร้างสรรค์นะ ไม่ไปจำกัดหรือทำให้ผู้กำกับทำงานลำบากมากขึ้น
- Director (ผู้กำกับ) : ก็คือ ผู้กำกับภาพยนตร์นั่นแหละค่ะ เป็นผู้กำกับควบคุมทิศทางของกองถ่ายทั้งหมด ทั้งในแง่ของการแสดง และงานเบื้องหลังอื่น ๆ หน้าที่หลักของผู้กำกับก็คือคิดเพื่อเล่าเรื่องค่ะ และต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกองถ่ายเพื่อคอยแก้ไขด้วย ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญที่ผู้ช่วยฯ ตัดสินใจเองไม่ได้ ผู้กำกับจะเป็นคนที่ตัดสินใจ ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไรค่ะ
- Assistant Director (ผู้ช่วยผู้กำกับ) : ดูแลงานต่างๆ แทนผู้กำกับ และในอีกด้านอาจเป็นผู้ดูแล
ในภาคส่วนต่างๆ ตามเรื่องที่ตนถนัดหรือต้องการรับผิดชอบ
- Unit Production Manager (ผู้จัดการหน่วยการสร้าง) : ดูแลเรื่องงบประมาณ และระยะเวลาในการดำเนินงานต่างๆ (เปรียบเสมือนหน่วยบัญชีในกอง)
- Production Manager (ผู้จัดการสร้าง) : ดูแลเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ที่จะใช้ในการถ่ายทำ มักทำงานคู้กับ ผู้กำกับงานศิลป์ (Art Director)
- Art Director (ผู้กำกับงานศิลป์) : ดูแลเกี่ยวกับรายละเอียด หรือเนื้อหา ในสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำ (อาจเรียกได้ว่าเป็น Visual Effects)
- Costume Designer (ผู้ออกแบบชุด) : ดูแลเรื่องการแต่งกายของนักแสดง
- Make-up and Hair Designer (นักแต่งหน้าและทำผม) : ดูแลเรื่องมุมมองของนักแสดงในส่วนหัวทั้งหมด
- Casting Director (ผู้กำกับนักแสดง) : ดูแล ฝึกฝน แนะนำ และคัดเลือกนักแสดงโดยตรง
- Choreographer (ผู้กำกับกิริยาท่าทางในการเต้น) : ดูแลเกี่ยวกับการใช้ท่าเต้นของนักแสดง ในการถ่ายทำ (ถ้ามี)
- Director of Photography (DP : ผู้กำกับภาพ) : จะประสานงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ในการวางแผนการจัดแสงการออกแบบแสงและการวางมุมกล้องเพื่อการสิ่อความหมายด้วยภาพต่างๆ ผู้กำกับภาพนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นช่างกล้องด้วย
- Director of Audiography (DA : ผู้กำกับเสียง) : หรือจะเรียกได้ว่า Sound Director เป็นผู้ดูแลเรื่องเสียง ในระหว่างการถ่ายทำ และหลังถ่ายทำ ดูแลและตรวจสอบเรื่องเสียงที่ใช้ทั้งหมด
- Gaffer แกฟเฟอร์ หรือคนกำกับแสง ออกแบบจัดวางแสงโดยจะทำงานร่วมกับผู้กำกับภาพมากที่สุด เพราะไฟที่ใช้จัดแสงจะต้องประสานการทำงานกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์
- Sound Engineer/Designer (ผู้ออกแบบเสียง หรือสร้างเสียง) : เป็นผู้ที่สร้าง เสียงเอฟเฟค หรือเสียงประกอบของแต่ละฉากในการทำภาพยนตร์
- Computer Graphics Designer (ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก) :
ดูแลเรื่องการสร้างกราฟิกเพื่อใช้ประกอบการสร้างภาพยนตร์
- Editor (ผู้แก้ไข/ตัดต่อ) : เป็นผู้ที่ดูแลเรื่องการจัดเฟรม (Frames)
ในเนื้อภาพยนตร์นั้นๆ
- Supervisor (ผู้ดำเนินงาน) : มักจะเป็นผู้ที่คอยตรวจสอบการทำงาน หรือประเมินการทำงาน โดยมักจะเป็นผู้ที่ไม่ได้ทำงานในกองถ่าย และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว
- Executive Producer (ผู้อำนวยการผลิต) : ผู้ว่าจ้าง ในการถ่ายทำภาพยนตร์ หรือ ผู้ที่มอบหมายผู้กำกับในการดูแลงานในกองถ่าย
- Sponsor (ผู้สนับสนุน) : สนับสนุนด้านในด้านหนึ่งในการดำเนินงานในกองถ่าย ไม่ว่าจะเปนด้านคำปรึกษา คำแนะนำ วัตถุสิ่งของ หรือ แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ
- Actor/Actress (นักแสดงชาย หญิง) : ผู้เล่นในภาพยนตร์นั้นๆ
- Characters (ตัวละคร) : อาจเป็นนักแสดงก็ได้ แต่ถ้าไม่มีก็อาจเป็นตัวละครสมมุติ ก็ได้

กองถ่ายทำภาพยนตร์คืออะไร

กองถ่ายทำภาพยนตร์คืออะไร



บุคลากรในงานภาพยนตร์ คือบุคลากรที่ทำงานในวงการภาพยนตร์ มีด้วยกันหลากหลายตำแหน่งมาก อาจสามารถจำแนกได้ทั้ง ก่อนการผลิต ระหว่างการผลิต และหลังการผลิต แต่บางตำแหน่งก็อาจจะไม่ตายตัว บางต่ำแหน่งต้องรับผิดชอบงานทั้งหมดก็มี หรือบางตำอาจมีปลีกย่อยลงไปได้อีก โดยมีดังต่อไปนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กองถ่าย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กองถ่าย